วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันที่ 8 กรกฎาคม 2553

การแบ่งประเภทของสื่อ
- ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
- ตามลักษณะของสื่อและวิธีการใช้งาน

>>>: กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม เอ็กการ์ด เดล (Edgar Dale)
1. ประสบการณ์ตรง
- ได้รับประสบการณ์โดยตรงจากของจริง สถานที่จริง (ประสาทสัมผัสทั้ง 5 )
2. ประสบการณ์รอง
- เป็นการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด อาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง
- เป็นการแสดงบทบาทสมมุติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
4. การสาธิต
- เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนการกระทำนั้น
5. การศึกษานอกสถานที่
-ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถาที่เรียน
6. นิทรรศการ
- เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆการจัดป้ายนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม
7. โทรทัศน์
- ให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8. ภาพยนต์
- ได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9. การบันทึกเสียง
- เป็นได้ทั้งในรูปแบบแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง
10. ทัศนสัญลักษณ์
- เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นจริง
11. วัจนสัญลักษณ์
- เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุดได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด

>>>: แนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อการศึกษาของอเมริกา
- สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material)
- สื่อการสอนประเภทวัสดุอุปกรณ์ (Hardware)
- สื่อการสอนประเภทเทคนิค วิธีการ (Techniques and Methods)


>>>: หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน
แนวคิดการเลือกสื่อของ โรมัส ซอวังดี้
ปัจจัยที่มัผลต่อการเลือกสื่อ
1. วิธีการสอน (Instructional Method)
2. งานการเรียนรู้ (Leraning Task)
3. ลักษณะของผู้เรียน (Learning Charactertistics)
4. ข้อจำกัดในทางปฎิบัติ (Practical Constrain)
5. ผู้สอนหรือครู (Teacher)