เป็นแฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย EAED2101
วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 วันที่ 30 กันยายน 2553
วันนี้เป็นวันปิดคอสการเรียนของภาคเรียนที่ 1 /2553 อาจารย์นัดสอบปลายภาค 9 โมงเช้า ข้อเขียนทั้งหมด 7 ข้อ และให้ทำแบบประเมินการสอนของอาจารย์ และพุดคุยกับนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องงานต่างๆที่ต้องส่งและอาจารย์ได้นัดตรวจบล๊อควันที่ 14 ตุลาคม 2553
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันที่ 30 กันยายน 2553
วันนี้อาจารย์ให้นำกระดาษลังมาคนละหนึ่งแผ่นโดยให้ทำเป็นป้ายนิเทศให้แต่ละคนออกแบบว่าอยากได้ป้ายนิเทศแบบไหน ซึ่งแต่ละคนก็แสดงความคิดเห็นกันออกมา มีซ้ำกันบ้างซึ่งอาจารย์ก็ได้ให้คิดกันใหม่ เพื่อที่จะได้รูปแบบที่หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน โดยที่อาจารย์ได้เตรียวมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆเอาไว้ให้ใช้กัน วันนี้เป็นวันที่สนุกอีกหนึ่งวัน เพราะได้เรียนรวมกับเพื่อนๆกลุ่มสอง ได้รู้จักการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ความสามัคคี เพราะว่าเมื่อใช้อุปกรณ์เร็จแล้ว ต้องเก็บคืนอาจารย์ให้ครบ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันที่ 23 กันยายน 2553
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันที่ 16 กันยายน2553
ในวันนี้อาจารย์ให้ทำแป้งโด
โดยส่วนผสมและวิธีการทำมีดังนี้
เกลือ 1/2 ถ้วย
แป้งสาลี 1 ถ้วย
สารส้มป่น 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 1 ถ้วย
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
สีผสมอาหาร , น้ำมันมะกอก
วิธีทำ1)นำเกลือ แป้งสาลี และสารส้ม ผสมให้เข้ากัน จากนั้นค่อยเติมน้ำและน้ำมันมะกออทีละน้อย ใส่สีผสมอาหาร
2)นำน้ำมันใส่กระทะและนำส่วนผสมในข้อ 1 ใส่ลงไป คนไม่ให้ติดกัน
3)นำมานวดให้เข้ากันและนำมาส่งอารจารย์ในครั้งต่อไป พร้อมทำกล่องใส่แป้งโดและหาอุปกรณ์ที่ใช้เล่นกับแป้งโดมาให้เรียบร้อย
โดยส่วนผสมและวิธีการทำมีดังนี้
เกลือ 1/2 ถ้วย
แป้งสาลี 1 ถ้วย
สารส้มป่น 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 1 ถ้วย
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
สีผสมอาหาร , น้ำมันมะกอก
วิธีทำ1)นำเกลือ แป้งสาลี และสารส้ม ผสมให้เข้ากัน จากนั้นค่อยเติมน้ำและน้ำมันมะกออทีละน้อย ใส่สีผสมอาหาร
2)นำน้ำมันใส่กระทะและนำส่วนผสมในข้อ 1 ใส่ลงไป คนไม่ให้ติดกัน
3)นำมานวดให้เข้ากันและนำมาส่งอารจารย์ในครั้งต่อไป พร้อมทำกล่องใส่แป้งโดและหาอุปกรณ์ที่ใช้เล่นกับแป้งโดมาให้เรียบร้อย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันที่ 9 กันยายน 2553
วันนี้อาจารย์ได้มีการนัดสอบกลางภาค [ เพื่อเก็บคะเเนน ] เวลา 09.00 น. นัดทั้ง 2 กลุ่ม ข้อสอบมี 3 ข้อ เเละมีการให้คัด ก - ฮ ตามรอยประ มีการส่งงาน Pop - up ซึ่งแต่ละคนก็ทำออกมาได้สวยงาม ไม่แพ้กันเลย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันที่ 26 สิงหาคม 2553
วันนี้ได้ไปดูงานวิจัยแห่งชาติและจัดบูทเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยที่ห้างเซนทรัลเวิลด์ซึ่งมีการจัดบูทงานวิจัยของแต่ละมหาลัย ทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน มีท่านนายกรัฐมนตรี คุณ อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ มาเป็นประธานเปิดงานด้วยคะ รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่งคะ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันที่ 19 สิงหาคม 2553
วันนี้อาจารย์ได้สอนพับกระดาษ (Pop - up)
1. การพับกระดาษเเบบตั้งได้
2. การพับกระดาษเเบบปาก [รูปสัตว์ต่าง]
3. การพับกระดาษเเบบหักมุม
1. การพับกระดาษเเบบตั้งได้
2. การพับกระดาษเเบบปาก [รูปสัตว์ต่าง]
3. การพับกระดาษเเบบหักมุม
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันที่ 29 กรกฎาคม 2553
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันที่ 22 กรกฎาคม 2553
สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สิ่งใดก็ตามที่เป็น ตัวกลาง นำความรู้จากครูสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย
ความสำคัญ
- ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
- ได้รับประสบการณ์ตรง จำได้นาน
- รวดเร็ว เพลิดเพลิน เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อที่ดี
- ต้องมีความปลอดภัย
- ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็กความสนใจ
- ประหยัด
- ประสิทธิภาพ
หลักการเลือกสื่อฯ
- คุณภาพดี
- เด็กเข้าใจง่าย
- เลือกให้เหมาะกับสภาพของศูนย์
- เหมาะสมกับวัย- เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
- เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ถูกต้องตามเนื้อหา,ทันสมัย
- เด็กได้คิดเป็นทำเป็น กล้าแสดงออก
วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553
การนำเสนอสื่อ
ชื่อสื่อ >>>: เกมส์ใส่ภาพให้ถูกต้อง
วัตถุประสงค์ >>>: เพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมพันกล้ามเนื้อเล็กกับตา
อายุที่จะสอนเด็ก 3 ปีขึ้นไป เด็กทำได้เพราะ พัฒนาการทางด้านร่างกานของเด็กวัยนี้สามารถ ใช้กล้ามเนื้อเล็ก หยิบ จับ ปั้นได้
วิธีการใช้สื่อ
1. นำแผ่นภาพมาให้เด็กๆดู
2. แกะชิ้นส่วนต่างๆออก
3. ให้เด็กๆนำภาพมาต่อให้ตรงกับล๊อค
วิธีการจัด
- จัดสื่อประเภทนี้ไว้ในมุมเสรี
วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันที่ 8 กรกฎาคม 2553
การแบ่งประเภทของสื่อ
- ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
- ตามลักษณะของสื่อและวิธีการใช้งาน
>>>: กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม เอ็กการ์ด เดล (Edgar Dale)
1. ประสบการณ์ตรง
- ได้รับประสบการณ์โดยตรงจากของจริง สถานที่จริง (ประสาทสัมผัสทั้ง 5 )
2. ประสบการณ์รอง
- เป็นการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด อาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง
- เป็นการแสดงบทบาทสมมุติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
4. การสาธิต
- เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนการกระทำนั้น
5. การศึกษานอกสถานที่
-ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถาที่เรียน
6. นิทรรศการ
- เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆการจัดป้ายนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม
7. โทรทัศน์
- ให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8. ภาพยนต์
- ได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9. การบันทึกเสียง
- เป็นได้ทั้งในรูปแบบแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง
10. ทัศนสัญลักษณ์
- เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นจริง
11. วัจนสัญลักษณ์
- เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุดได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด
>>>: แนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อการศึกษาของอเมริกา
- สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material)
- สื่อการสอนประเภทวัสดุอุปกรณ์ (Hardware)
- สื่อการสอนประเภทเทคนิค วิธีการ (Techniques and Methods)
>>>: หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน
แนวคิดการเลือกสื่อของ โรมัส ซอวังดี้
ปัจจัยที่มัผลต่อการเลือกสื่อ
1. วิธีการสอน (Instructional Method)
2. งานการเรียนรู้ (Leraning Task)
3. ลักษณะของผู้เรียน (Learning Charactertistics)
4. ข้อจำกัดในทางปฎิบัติ (Practical Constrain)
5. ผู้สอนหรือครู (Teacher)
- ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
- ตามลักษณะของสื่อและวิธีการใช้งาน
>>>: กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม เอ็กการ์ด เดล (Edgar Dale)
1. ประสบการณ์ตรง
- ได้รับประสบการณ์โดยตรงจากของจริง สถานที่จริง (ประสาทสัมผัสทั้ง 5 )
2. ประสบการณ์รอง
- เป็นการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด อาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง
- เป็นการแสดงบทบาทสมมุติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
4. การสาธิต
- เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนการกระทำนั้น
5. การศึกษานอกสถานที่
-ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถาที่เรียน
6. นิทรรศการ
- เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆการจัดป้ายนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม
7. โทรทัศน์
- ให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8. ภาพยนต์
- ได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9. การบันทึกเสียง
- เป็นได้ทั้งในรูปแบบแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง
10. ทัศนสัญลักษณ์
- เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นจริง
11. วัจนสัญลักษณ์
- เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุดได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด
>>>: แนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อการศึกษาของอเมริกา
- สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material)
- สื่อการสอนประเภทวัสดุอุปกรณ์ (Hardware)
- สื่อการสอนประเภทเทคนิค วิธีการ (Techniques and Methods)
>>>: หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน
แนวคิดการเลือกสื่อของ โรมัส ซอวังดี้
ปัจจัยที่มัผลต่อการเลือกสื่อ
1. วิธีการสอน (Instructional Method)
2. งานการเรียนรู้ (Leraning Task)
3. ลักษณะของผู้เรียน (Learning Charactertistics)
4. ข้อจำกัดในทางปฎิบัติ (Practical Constrain)
5. ผู้สอนหรือครู (Teacher)
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันที่ 1 กรกฎาคม 2553
สื่อ
<กิริยา> หมายถึงการติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกัน<นาม> ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน<พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2525.2530:812>
สื่อการศึกษา
<นาม> วิธีการเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อต่างๆที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา<พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2525.2530:812>
สื่อการเรียนการสอน
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่อาจเป็นวัสดุ เครื่องมือ หรือกิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางแผนใช้รวมเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆอย่างเหมาะสม กับความต้องการ ระดับชั้น สติปัญญา และความสามารถจองนักเรียน เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ชม ภูมิภาค<2545:5>
สื่อการเรียนการสอนหมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษา เป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เช่น วีดีทัศน์ เป็นสื่อการเรียนการสอนเพราะมีวีดิทัศน์เป็นตัวนำสารไปให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆที่ผู้สอนและผู้เรียน
สื่อกับผู้เรียน
- เข้าใจบทเรียนได้เร็วขึ้น
-ทำให้น่าสนใจ ใช้ประสาทสัมผัสได้หลายรูปร่าง
-เข้าใจเนื้อหาที่ยุ่งยากซับซ้อน
-ให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียน
-ช่วยให้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่
-ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม
-มีความเข้าใจเนื้อหาได้ตรงกัน
-สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน
-ช่วยลดการบรรยายของผู้สอน
-ผู้สอนมีความตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆ
หลักการเลือกสื่อการสอน
-สื่อต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
-เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
-สื่อเหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
-สะดวก วิธีใช้ก็ไม่ยุ่งยากเกินไป
-มีคุณภาพ เทคนิคการผลิต
-มีราคาไม่แพงจนเกินไป
ขั้นตอนการใช้สื่อ
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
3.ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฎิบัติ
4.ขั้นสรุปบทเรียน
5.ขั้นประเมินผู้เรียน
หลักการใช้สื่อ
1.เตรียมตัวผู้สอน
2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
3.เตรียมพร้อมผู้เรียน
4.การใช้สื่อ
5.การติตามผล
<กิริยา> หมายถึงการติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกัน<นาม> ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน<พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2525.2530:812>
สื่อการศึกษา
<นาม> วิธีการเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อต่างๆที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา<พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2525.2530:812>
สื่อการเรียนการสอน
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่อาจเป็นวัสดุ เครื่องมือ หรือกิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางแผนใช้รวมเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆอย่างเหมาะสม กับความต้องการ ระดับชั้น สติปัญญา และความสามารถจองนักเรียน เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ชม ภูมิภาค<2545:5>
สื่อการเรียนการสอนหมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษา เป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เช่น วีดีทัศน์ เป็นสื่อการเรียนการสอนเพราะมีวีดิทัศน์เป็นตัวนำสารไปให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆที่ผู้สอนและผู้เรียน
สื่อกับผู้เรียน
- เข้าใจบทเรียนได้เร็วขึ้น
-ทำให้น่าสนใจ ใช้ประสาทสัมผัสได้หลายรูปร่าง
-เข้าใจเนื้อหาที่ยุ่งยากซับซ้อน
-ให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียน
-ช่วยให้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่
-ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม
-มีความเข้าใจเนื้อหาได้ตรงกัน
-สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน
-ช่วยลดการบรรยายของผู้สอน
-ผู้สอนมีความตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆ
หลักการเลือกสื่อการสอน
-สื่อต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
-เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
-สื่อเหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
-สะดวก วิธีใช้ก็ไม่ยุ่งยากเกินไป
-มีคุณภาพ เทคนิคการผลิต
-มีราคาไม่แพงจนเกินไป
ขั้นตอนการใช้สื่อ
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
3.ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฎิบัติ
4.ขั้นสรุปบทเรียน
5.ขั้นประเมินผู้เรียน
หลักการใช้สื่อ
1.เตรียมตัวผู้สอน
2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
3.เตรียมพร้อมผู้เรียน
4.การใช้สื่อ
5.การติตามผล
วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553
นิยามของสื่อ
นิยามของสื่อ สื่อหมายถึง การเรียนรู้สิ่งต่างๆโดยมีสื่อเป็นตัวกลางในการเรียนรู้โดยผ่านจาก ผู้ส่งข้อมูล -->สื่อ--> ผู้รับข้อมูล
เด็กปฐมวัยคือ >>> เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0 - 5 ปี(11เดือน 29วัน)
เราควรศึกษาเด็กปฐวัยอย่างไรถึงจะรู้ว่าเด็กเป็นอย่างไร >>> พัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างไร >>> เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ครูผู้สอน การเล่น
นักทฤษฎีที่เราพอจะจำได้และเข้าใจ >>> เอ.เอส.นีล(A.S. Neil)กล่าวว่า การศึกษาที่ต้องมุ่งให้เสรีภาพอย่างเต็มที่แก่ผู่เรียน ทั้งในด้านการเรียนและการปกครองตนเอง โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกๆอย่าง การเรียนเป็นเรื่องของการเลือก ไม่บังคับ เพราะต้องการให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง เขามีความเชื่อว่า เด็กเกิดมาพร้อมกับความเฉลียวฉลาด และมีความคิดที่ตรงกับความเป็นจริง ถ้าปล่อยให้เด็กพัฒนาตนเองอย่างเป็นอิสระ ปราศจากการควบคุม ก็จะสามารถพัฒนาตนเอง ไปให้มากที่สุด ที่จะทำได้ตามศักยภาพ และความสนใจ
เด็กปฐมวัยคือ >>> เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0 - 5 ปี(11เดือน 29วัน)
เราควรศึกษาเด็กปฐวัยอย่างไรถึงจะรู้ว่าเด็กเป็นอย่างไร >>> พัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างไร >>> เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ครูผู้สอน การเล่น
นักทฤษฎีที่เราพอจะจำได้และเข้าใจ >>> เอ.เอส.นีล(A.S. Neil)กล่าวว่า การศึกษาที่ต้องมุ่งให้เสรีภาพอย่างเต็มที่แก่ผู่เรียน ทั้งในด้านการเรียนและการปกครองตนเอง โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกๆอย่าง การเรียนเป็นเรื่องของการเลือก ไม่บังคับ เพราะต้องการให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง เขามีความเชื่อว่า เด็กเกิดมาพร้อมกับความเฉลียวฉลาด และมีความคิดที่ตรงกับความเป็นจริง ถ้าปล่อยให้เด็กพัฒนาตนเองอย่างเป็นอิสระ ปราศจากการควบคุม ก็จะสามารถพัฒนาตนเอง ไปให้มากที่สุด ที่จะทำได้ตามศักยภาพ และความสนใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)